กฎหมายระหว่างประเทศ ( International Law )
กฎหมายระหว่างประเทศ คือ
กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในฐานะที่ เท่าเทียมกัน
ความจริงแล้วไม่มีตัวบทกฎหมายระหว่างประเทศบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเพียงธรรมเนียมประเพณีที่ถือกันมา หรืออย่างมากก็เป็นสนธิสัญญาที่ทำกันขึ้นระหว่างประเทศ ดังนี้จึงอาจกล่าวได้ว่ากฎหมายระหว่างประเทศเป็นเพียงธรรมเนียมปฏิบัติระหว่างประเทศเท่านั้นเอง
วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ
1. กฎหมายระหว่างประเทศสมัยโบราณไม่มีการใช้กฎหมายร่วมกัน และไม่มีการยอมรับความเสมอภาคของกลุ่มชน การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนมักจะใช้กำลังทำสงคราม ต่อมาลดความทารุณโหดร้ายลงด้วยการวางหลักเกณฑ์แห่งสงคราม และเมื่อสังคมชาติมีความสัมพันธ์กันกว้างขวางมากขึ้น จนถึงมีผู้แทนของแต่ละชาติเข้าไปในชาติอื่น จึงเกิดมีการวิวัฒนาการด้านกฎหมายขึ้น
2. กฎหมายระหว่างประเทศสมัยใหม่ชาวยุโรปสนใจกฎหมายโรมันมากขึ้น ได้มีการวางหลักกฎหมายเกี่ยวกับทะเลขึ้นหลายฉบับ แล้วรวบรวมเอาจารีตประเพณีและการปฏิบัติระหว่างกันขึ้น หลายประเทศนำหลักเกณฑ์แห่งความสัมพันธ์ทางการทูตที่โกรซิอุสเขียนไว้ ไปบังคับใช้ ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายระหว่างประเทศอันหนึ่ง
3. กฎหมายระหว่างประเทศสมัยปัจจุบันในต้นยุคนี้มีการสู้รบทั้งภายในและนอกประเทศ ทำให้ประเทศต่าง ๆ แสวงหาความเป็นอยู่แบบสันติสุข จึงได้จัดทำสนธิสัญญากันขึ้น
2. กฎหมายระหว่างประเทศสมัยใหม่ชาวยุโรปสนใจกฎหมายโรมันมากขึ้น ได้มีการวางหลักกฎหมายเกี่ยวกับทะเลขึ้นหลายฉบับ แล้วรวบรวมเอาจารีตประเพณีและการปฏิบัติระหว่างกันขึ้น หลายประเทศนำหลักเกณฑ์แห่งความสัมพันธ์ทางการทูตที่โกรซิอุสเขียนไว้ ไปบังคับใช้ ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายระหว่างประเทศอันหนึ่ง
3. กฎหมายระหว่างประเทศสมัยปัจจุบันในต้นยุคนี้มีการสู้รบทั้งภายในและนอกประเทศ ทำให้ประเทศต่าง ๆ แสวงหาความเป็นอยู่แบบสันติสุข จึงได้จัดทำสนธิสัญญากันขึ้น
* อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ได้เปลี่ยนรูปแบบของรัฐ จากรัฐราชาธิปไตยไปสู่รัฐสมัยใหม่ที่ตั้งอยู่บนอาณาเขตที่กำหนดไว้ชัดแจ้ง
* สนธิสัญญาเวสท์ฟาเลีย ได้รับการขนานนามว่า กฎบัตรว่าด้วยธรรมนูญแห่งยุโรป
* สนธิสัญญาอูเทรคท์ ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับแนวอาณาเขตระหว่างประเทศในยุโรป
* องค์การสหประชาชาติ เป็นปัจจัยสำคัญของชีวิตระหว่างประเทศ และเป็นกลไกสำคัญในการสร้างสันติภาพอย่างแท้จริง
ลักษณะทั่วไปของกฎหมายระหว่างประเทศ
1.ลักษณะเฉพาะของกฎหมายระหว่างประเทศ
- กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ
- กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฎฐาธิปัตย์ รัฎฐาธิปัตย์
คือ ผู้ซึ่งประชาชนส่วนมายอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดินหรือบ้านเมืองนั้น และผู้มีอำนาจไม่ต้องรับฟังอำนาจของผู้ใดอีก
- กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้บังคับทั่วไป
- กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
2.กฎหมายระหว่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายภายในประเทศใช่หรือไม่
- ตามหลักคอมมอนลอว์ กฎหมายระหว่างประเทศเป็นกฎหมายภายใน
- ตามหลักประมวลกฎหมาย ( นักกฎหมายในประเทศภาคพื้นยุโรป )
กฎหมายระหว่างประเทศไม่เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายภายในนักกฎหมายมีแนวคิดเกี่ยวกับปัญหานี้แตกต่างกันไปดังนี้
1.ทฤษฎีเอกนิยม
มีหลักว่า ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายภายในหรือระหว่างประเทศ มิได้เกิดจากความสมัครใจของรัฐ ซึ่งในบางกรณีอาจโดยใจสมัครก็ได้ ทฤษฎีเอกนิยมจึงอาจเรียกกฎหมายว่า กฎหมายตามความเป็นจริง
2.ทฤษฎีทวินิยม
มีหลักว่า ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายภายในหรือระหว่างประเทศ ย่อมเกิดจากใจสมัคร เรียกว่า กฎหมายใจสมัคร
3.ความแตกต่างระหว่างกฎหมายภายในกับกฎหมายระหว่างประเทศ
- มูลฐานแห่งกฎหมายไม่ว่าจะเป็นกฎหมายภายในหรือระหว่างประเทศ ย่อมมีมูลฐานมาจากความยินยอมและการแสดงเจตนา
- การบังคับใช้กฎหมาย
- กฎหมายระหว่างประเทศกระทำได้ระหว่างรัฐหลายรัฐที่ได้แสดงเจตนาไว้แต่เบื้องต้น
- กฎหมายภายในใช้บังคับได้แต่เพียงในรัฐใดรัฐหนึ่งเท่านั้น - การชี้ขาดปัญหาขัดแย้ง
- การชี้ขาดปัญหาขัดแย้งเกี่ยวกับกฎหมายภายใน เป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรมภายในประเทศ
- กรณีมีข้อพิพาทระหว่างประเทศ สถาบันที่มีหน้าที่ในการชี้ขาดปัญหา ได้แก่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ - หลักเกณฑ์ของการบัญญัติกฎหมาย
- กฎหมายระหว่างประเทศ บัญญัติโดยความยินยอมของแต่ละประเทศ
- กฎหมายภายในประเทศ บัญญัติขึ้นโดยดุลยพินิจของรัฐ
ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ
1.ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
- จารีตประเพณี ซึ่งกฎหายจารีตประเพณีจะมีขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีการปฏิบัติและความเชื่อมั่นว่ามีพันธกรณีตามกฎหมาย กฎหมายจารีตประเพณีมีความสำคัญมากในกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
- หลักกฎหมายทั่วไป คือ กฎเกณฑ์ต่าง
ๆ ที่มาจากกฎหมายภายในประเทศ ถือว่าเป็นบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ สำหรับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหากไม่มีอนุสัญญาหรือหลักจารีตประเพณีมาปรับใช้บังคับในกรณีพิพาทได้ ก็จะพิจารณาพิพากษาโดยนำหลักกฎหมายทั่วไปมาใช้
2.ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร
- สนธิสัญญา หมายถึง ความตกลงระหว่างประเทศที่ทำขึ้นระหว่างรัฐเป็นลายลักษณ์อักษร และอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายระหว่างประเทศ
- ข้อตกลงระหว่างประเทศ ข้อตกลงระหว่างประเทศก่อให้เกิดผลทางกฎหมาย หมายถึง
ผลบังคับให้ประเทศที่แสดงเจตนาตามข้อตกลงระหว่างประเทศต้องปฏิบัติตาม
- คำพิพากษาของศาล หมายถึง คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ( ศาลโลก
)
ประเภทของกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 สาขา ดังนี้
1.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ได้แก่
กฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคล แผนกนี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องความสัมพันธ์ทางการทูต การทำสนธิสัญญา และการทำสงคราม
2.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นกฎหมายที่บังคับเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นพลเมืองของรัฐในทางแพ่ง เช่นการสมรส การหย่า การได้สัญชาติ การสูญเสียสัญชาติ เป็นต้น
3.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในคดีอาญา เมื่อพลเมืองของรัฐกระทำความผิดกฎหมายอาญา เช่น การกำหนดอำนาจที่จะบังคับและปฏิบัติต่อชาวต่างประเทศ
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
- บุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
1.รัฐเป็นบุคคลดั้งเดิมหรือเป็นบุคคลหลักในกฎหมายระหว่างประเทศรัฐเกิดขึ้นโดยองค์ประกอบทาง ข้อเท็จจริงมีสิทธิและหน้าที่ที่สมบูรณ์ตามกฎหมายระหว่างประเทศและมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ
2.องค์การระหว่างประเทศเป็นบุคคลลำดับรองในกฎหมายระหว่างประเทศเกิดขึ้นโดยความตกลงระหว่างรัฐมีความสามารถตามกฎหมายระหว่างประเทศที่จำกัดภายในขอบเขตของความตกลงก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศนั้นๆ
3.โดยทั่วไปแล้วปัจเจกชนไม่มีสิทธิความรับผิดชอบและใช้สิทธิในทางระหว่างประเทศได้โดยตรงตามกฎหมายระหว่างประเทศ ยกเว้นในบางกรณีที่มีขอบเขตที่จำกัดอย่างมาก
4.บรรษัทข้ามชาติไม่ได้รับการยอมรับว่ามีสภาพเป็นบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศแต่มีสถานะเป็นเพียงบุคคลตามกฎหมายภายในเท่านั้น
- รัฐ
1. รัฐมีหลัก 3 ประการ
คือดินแดน ประชากร
และรัฐบาล คำจำกัดความของรัฐเป็นแนวความคิดทางรัฐศาสตร์มากกว่าทางนิติศาสตร์ เนื่องจากรัฐเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงของการใช้อำนาจดินแดนและประชากร
2.การรับรองรัฐมีผลเสมือนเป็นการประกาศว่ารัฐได้เกิดขึ้นมาแล้ว รัฐที่ได้รับการรับรองจะมีความสามารถในการทำนิติกรรมระหว่างประเทศได้อย่างสมบูรณ์
3. การรับรองรัฐขึ้นอยู่กับการใช้ดุลพินิจของรัฐผู้ให้การรับรอง โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐเป็นสำคัญ
4. รัฐมีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกันตามกฎหมาย หน้าที่ที่สำคัญประการหนึ่งของรัฐคือ การไม่เข้าแทรกแซงต่อกิจการภายในของรัฐอื่น
5.การสืบสิทธิของรัฐในส่วนที่เกี่ยวกับสนธิสัญญาตั้งอยู่บนพื้นฐานของความประสงค์ของรัฐผู้สืบสิทธิและการพิทักษ์ผลประโยชน์ของรัฐที่สาม
6.การสืบสิทธิของรัฐในเรื่องอื่นๆ นำหลักของความยุติธรรม (equity) มาปรับใช้เพื่อแบ่งความรับผิดชอบ
รัฐอาจให้ความคุ้มครองทางการทูตต่อคนในชาติของตนได้เมื่อ
(1) คดีถึงที่สุดในศาลของรัฐผู้รับแล้ว
(2) การกระทำของรัฐผู้รับทำให้เกิดผลเสียหายทางกระบวนการยุติธรรม
(3) ความผิดนั้นจะต้องปราศจากเจตนามิชอบ
(4) รัฐผู้ให้ความคุ้มครองเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจพิจารณาว่าสมควรที่จะให้ความคุ้มครองทางการทูตหรือไม่
(5) เป็นการให้ความคุ้มครองแก่คนชาติของตนหรือแก่คนชาติอื่นที่มีความตกลงกำหนดให้รัฐนั้นเป็นผู้ให้ความคุ้มครองแทนได้
- เขตอำนาจรัฐ หมายถึงอำนาจตามกฎหมายของรัฐเหนือบุคคล ทรัพย์สิน
หรือเหตุการณ์ต่างๆ
1.เขตอำนาจรัฐ อาจจำแนกตามเนื้อหาของอำนาจได้เป็น 2 ประเภทคือ
(1) เขตอำนาจในการสร้างหรือบัญญัติกฎหมาย
(2) เขตอำนาจในการบังคับการตามกฎหมาย
2.การใช้เขตอำนาจย่อมเป็นไปตามกฎหมายภายในของรัฐ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายระหว่างประเทศด้วย กล่าวคือ
รัฐสามารถใช้เขตอำนาจของตนเหนือบุคคล ทรัพย์สินหรือเหตุการณ์ต่างๆ ตามกฎหมายภายใน โดยมีการเชื่อมโยงบางประการ ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศรับรอง
3.เขตอำนาจของรัฐมีมูลฐานมาจากหลักการสำคัญ 5 ประการ
ได้แก่
(1) หลักดินแดน Territorial Principle
(2) หลักสัญชาติ National Principle
(3) หลักผู้ถูกกระทำ Passive Personality Principle
(4) หลักป้องกัน Protective Principle
(5) หลักสากล Universality Principle ซึ่งแต่ละหลักการดังกล่าวมีสาระสำคัญที่สนับสนุนการใช้เขตอำนาจรัฐด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน
- เขตแดนของรัฐ
1.เขตแดนเป็นเครื่องกำหนดขอบเขตของดินแดนที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐ กำหนดขอบเขตแห่งการมีสิทธิและหน้าที่ระหว่างประเทศของรัฐในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และแบ่งแยกอำนาจของรัฐออกจากกันโดยเด็ดขาด เว้นแต่กรณีที่รัฐต่างๆ ได้แสดงเจตจำนงในการให้ความร่วมมือระหว่างกันในกรอบของความร่วมมือที่ได้ตกลงระหว่างกันไว้ เขตแดนจึงเป็นทั้งเครื่องชี้แสดงและจำกัดขอบเขตการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐในประชาคมระหว่างประเทศ
2.องค์ประกอบของดินแดนของรัฐ คือพื้นดิน ใต้ดอน
น่านน้ำภายใน ทะเลอาณาเขต และน่านฟ้าเหนือดินแดน น่านน้ำภายในและทะเลอาณาเขต
3.แม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบ
อ่าวและช่องแคบ ก็เป็นองค์ประกอบของเขตแดนของรัฐซึ่งอาจมีลักษณะเป็นเขตแดนภายในของรัฐ หรือเป็นเจตแดนระหว่างประเทศได้
4.รัฐที่มีลักษณะเป็นหมู่เกาะ ได้แก่
รัฐที่มีดินแดนประกอบไปด้วยเกาะหลายเกาะ การกำหนดขอบเขตของเขตแดนของรัฐนั้นจึงแตกต่างจากการกำหนดขอบเขตของเขตแดนของรัฐทั่วไป รวมทั้งการกำหนดน่านน้ำ และทะเลอาณาเขตของเกาะด้วย รัฐชายฝั่งที่มีลักษณะพิเศษทางภูมิศาสตร์ก็จะได้รับการกำหนดเขตแดนที่แตกต่างจากหลักเกณฑ์ทั่วไปด้วยเช่นกัน
5.การกำหนดเส้นเขตแดนของรัฐมีทั้งทางบก ทางน้ำ
และทางอากาศ โดยมักจะอาศัยอุปสรรคทางภูมิศาสตร์เป็นแนวเขตแดน ได้แก่สันเขา สันปันน้ำ แม่น้ำ
ลำน้ำ ทะเลสาบ
ซึ่งแบ่งแยกดินแดนของรัฐตามธรรมชาติ ส่วนการกำหนดเส้นเขตแดนทางอากาศมักจะเป็นน่านฟ้าเหนือขอบเขตอันเป็นเส้นเขตแดนทางพื้นดิน และทะเลอาณาเขต กล่าวคือน่านฟ้าเหนือพื้นดิน น่านน้ำภายใน และทะเลอาณาเขต
6.ขั้นตอนและวิธีการกำหนดเส้นเขตแดนกระทำโดยคณะกรรมการป้องกันเขตแดน คณะกรรมการกำหนดจุด พิกัด และคณะกรรมการปักหลักเขต ซึ่งมักจะเป็นคณะกรรมการผสมประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคของภาคีคู่สัญญา และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการทั้งสามจะเป็นไปตามที่รัฐภาคีกำหนด โดยทำให้การกำหนดเส้นเขตแดนเป็นไปตามที่ภาคีคู่สัญญาได้ตกลงกันไว้
- องค์การระหว่างประเทศ
1.สภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศขององค์การระหว่างประเทศอาจปรากฏโดยชัดแจ้งในเอกสารก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศหรือโดยนัยจากเอกสารก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศและถูกทำให้ชัดเจนและมั่นคงขึ้น (Consolidated) โดยทางปฏิบัติขององค์การระหว่างประเทศนั้นเอง
2.ความสามารถในการกระทำตามกฎหมายระหว่างระเทศขององค์การระหว่างประเทศแต่ละองค์การอาจไม่เท่าเทียมกัน โดยขึ้นอยู่กับความตกลงก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศนั้นๆ หรือบางกรณีอาจเป็นผลมาจากการมีอำนาจโดยปริยาย และการตีความความตกลงก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศนั้นเอง
3.องค์การระหว่างประเทศมีความรับผิดชอบตามกฎหมายระหว่างประเทศ หากกระทำการละเมิดพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ตัวอย่างคดีเมือง
“คดีการเมือง” คดีนายปิ่น จักกะพาก
นั้น คงจำกันได้ว่าทางการไทยได้ร้องขอไปยังทางการอังกฤษเพื่อให้ส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนมายังประเทศไทย โดยกล่าวหาว่านายปิ่นกระทำความผิดอาญาในประเทศไทยรวม 45 ข้อหา
โดยนายปิ่นถูกจับตัวใน กรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม
2542 และถูกนำตัวขึ้นดำเนินคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ศาลแขวง Bow Street Magistrates” Court นายปิ่นได้ต่อสู้คดี และได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีประกันศาลแขวงดังกล่าวได้ไต่สวนพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายแล้วได้มีพิพากษาเมื่อวันที่ 7 มีนาคม
2544 ว่านายปิ่นมีความผิดเพียง 7 ข้อหา
จึงพิพากษาให้ส่งตัวนายปิ่นเป็นผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่ทางการไทย แต่นายปิ่นได้อุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลสูง โดยศาลสูงได้วินิจฉัยคดีทั้ง 7 ข้อหาโดยละเอียดว่าโจทก์มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะรับฟังได้หรือไม่ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหาของรัฐบาลไทย ท้ายสุดศาลสูงได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม
2544 โดยพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลแขวง ยกฟ้องคดีทุกข้อหาและปล่อยตัวนายปิ่นพ้นข้อหาไป โดยศาลได้วินิจฉัยในประเด็นสำคัญว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดๆ บ่งชี้หรือสนับสนุนข้อพิสูจน์ได้ว่านายปิ่นกระทำการโดยมีเจตนาทุจริตตามข้อกล่าวหา และยังไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่คณะผู้พิพากษาจะวินิจฉัยลงโทษนายปิ่นได้
กรณีของนายปิ่นไม่เป็นความผิดตามกฎหมายอังกฤษ เพราะสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างไทยกับอังกฤษนั้น จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าข้อกล่าวหาในความผิดของนายปิ่นตามที่ทางการไทยกล่าวอ้างนั้น หากเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษจะเป็นความผิดตามกฎหมายอังกฤษหรือไม่ (Double Criminality) แต่ปรากฏว่าพยานหลักฐานของฝ่ายไทยยังไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของนายปิ่นผิดต่อกฎหมายอังกฤษด้วย ซึ่งคดีดังกล่าวได้ถึงที่สุดแล้วและรัฐบาลไทยไม่สามารถนำตัวนายปิ่นมาดำเนินคดีที่ประเทศไทยได้จนบัดนี้
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
หมายความถึง กฎเกณฑ์ที่ใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนที่มีจุดนิติสัมพันธ์กับกฎหมายหลายระบบในความสัมพันธ์ทางแพ่งและพาณิชย์ รวมตลอดถึงกฎเกณฑ์ที่กำหนดสิทธิและหน้าที่ของคนต่างด้าวในดินแดนของรัฐอีกรัฐหนึ่ง
- บ่อเกิดกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
1. บ่อเกิดหรือที่มาจากภายในประเทศ ได้แก่
กฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่
1.1 เกี่ยวกับการแบ่งสรรเอกชนระหว่างประเทศ เช่น พรบ.สัญชาติ พ.ศ. 2508, ปพพ.เรื่องภูมิลำเนา และถิ่นที่อยู่, พรบ.ว่าด้วยการขัดกันของกฎหมาย เป็นต้น
1.2 สิทธิและฐานะคนต่างด้าว มีกฎหมายเกี่ยวข้องหลายฉบับทั้งทางตรงและอ้อม เช่น พรบ.การทำงานของคนต่างด้าว, พรบ.เรือไทย พ.ศ. 2481, พรบ.ทะเบียนคนต่างด้าว, ประมวลที่ดิน พ.ศ.2497 เป็นต้น
1.3 เกี่ยวกับการขัดกันของกฎหมาย มีพรบ.ที่เกี่ยวข้อง คือ พรบ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย, ปวพ. ม.4, 7, 34, พรบ.ล้มละลาย
2.บ่อเกิดหรือที่มาระหว่างประเทศ ได้แก่
ข้อตกลงกันระหว่างรัฐ อาจทำเป็นสนธิสัญญา เช่นอนุสัญญากรุงเฮก ว่าด้วยสัญชาติ ค.ศ. 1896, อนุสัญญาว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง ค.ศ. 1905,อนุสัญญาว่าด้วยการสมรส ค.ศ. 1902, การคุ้มครองคนต่างด้าว ตามมาตรฐานสากล, ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ของสหประชาชาติ ค.ศ. 1942
กฎหมายประเพณีระหว่างประเทศ เช่น หลักเรื่องสังหาริมทรัพย์เคลื่อนที่ติดตามบุคคล,กฎหมายที่อยู่ในรูปจารีตประเพณีการค้าระหว่างประเทศ, คำพิพากษาระหว่างประเทศ ของศาลประเทศต่างๆ เช่นคดีโนตเตอโบม เกี่ยวกับสัญชาติของบุคคล ระหว่างชาติลิเคนสไตน์ กับกัวเตมาลา คดีบาร์เซโลน่า ค.ศ. 1970 เรื่องสัญชาตินิติบุคคลระหว่างเบลเยี่ยมกับสเปน,คดีเกี่ยวกับอนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1902 เกี่ยวกับเรื่องผู้พิทักษ์ผู้เยาว์ ระหว่างสวีเดนกับเนเธอร์แลนด์ ค.ศ. 1958
- ขอบข่ายของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล มีขอบข่าย
ครอบคลุม ถึงเรื่องสำคัญอยู่ 4 เรื่องด้วยกัน
1) การแบ่งสรรเอกชนระหว่างประเทศ หมายความถึง การจำแนกเอกชนว่าควรจะสังกัดอยู่ในรัฐใดและจะใช้เครื่องมืออะไรในการจำแนกเอกชนดังกล่าว ดังนั้น
สัญชาติก็ดี ภูมิลำเนาก็ดี ถิ่นที่อยู่ก็ดี จึงเป็นองค์ประกอบที่เป็นจุดเกี่ยวพันกับระบบกฎหมายภายใน
2) สิทธิและฐานะของคนต่างด้าว เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการคุ้มครองคนต่างด้าว ฐานะของคนต่างด้าวในฐานะของกฎหมายภายในของแต่ละรัฐ สิทธิของคนต่างด้าวกำหนดโดยกฎหมายภายในและกฎหมายสนธิสัญญา
3) การขัดกันแห่งกฎหมาย เป็นหัวใจของการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล การขัดกันแห่งกฎหมายเป็นเรื่องกฎเกณฑ์ที่ช่วยหากฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับกับคดี เมื่อคดีนั้นมีจุดนิติสัมพันธ์กับกฎหมายหลายระบบ
4)การพิจารณาแผนกเอกชนระหว่างประเทศ เป็นเรื่องๆ หนึ่งในกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลซึ่งมีประเด็นสำคัญอยู่สองประเด็นคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับการขัดกันแห่งอำนาจศาล กับการยอมรับคำพิพากษาของศาลต่างประเทศบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
- กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ประกอบด้วย
-การได้สัญชาติและการถอนสัญชาติโดยการเกิด
-ความสามารถ
-การได้สัญชาติและการถอนสัญชาติภายหลังการเกิด -แบบแห่งนิติกรรม
-สัญชาติของบุคคล
-หนี้
-ทฤษฎีย้อนส่ง
-การขัดกันแห่งกฎหมาย
-เขตอำนาจศาลไทย
- ความจำเป็นของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
1. หลักเรื่องการมีอธิปไตยของแต่ละรัฐ นิยามของว่ารัฐ คือ รัฐแต่ละรัฐต้องมีลักษณะ
ดังนี้ คือ
1) มีอธิปไตย เป็นของตนเอง ซึ่งแต่ละรัฐย่อมมีความเท่าเทียมและเสมอภาคกันระหว่างรัฐ
2) มีดุลอำนาจเหนือดินแดนและเหนือประชากรของตน
3) มีสิทธิขาดในการเสนอกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายเหนือดินแดนและประชากรของตน
ตามวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี และสภาพอันเหมาะสมของตน
2. ความสัมพันธ์กันระหว่างรัฐ ปัจจุบันไม่มีรัฐใดที่อยู่โดดเดี่ยวรัฐเดียวในโลก เมื่อมีความสัมพันธ์กันกับรัฐอื่นไม่ว่าจะเป็นระหว่างรัฐกับรัฐหรือกับองค์กรระหว่างประเทศ หรือกับเอกชนก็ตาม ย่อมเกิดความสัมพันธ์ระหว่างกันขึ้น ในความสัมพันธ์นั้นย่อมต้องนำกฎหมายมาใช้ ความจำเป็นนี้คือ เมื่อรัฐแต่ละรัฐมีลักษณะเฉพาะตัว นิติสัมพันธ์ดังกล่าวจะบังคับกันอย่างไร
ดังนั้นในแต่ละรัฐต้องจำต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ เพื่อให้ศาลสามารถนำเอากฎหมายของประเทศอื่นมาใช้บังคับแก่คดีที่มีองค์ประกอบต่างชาติ ที่กำลังฟ้องอยู่ในศาลของตน เรียกกฎเกณฑ์นี้ว่า “กฎเกณฑ์ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย” (conflict of law) เป็นหัวใจสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศ
วิวัฒนาการของวิธีการแก้ไขการขัดกันแห่งกฎหมายก่อนยุคที่จะมีทฤษฎีของการขัดกันแห่งกฎหมาย ครั้งโบราณมนุษย์ได้รวมกันขึ้นเป็นชุมชนแต่ยังมิได้ก่อตั้งเป็นรัฐ หากแต่อยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นเหล่า มีจารีตประเพณี ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม
ศาสนาเป็นของตนเอง ซึ่งจากข้อเท็จจริงนี้ทำให้เห็นว่าสมาชิกของชุมชนใดย่อมต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับแห่งชุมชนนั้น ประกอบด้วย
ข้อเท็จจริงในคดีกับคำร้องขอของคู่ความโดยอ้างตัวบทกฎหมายประกอบ แต่ก่อนที่ศาลจะวินิจฉัยคดี ศาลจึงต้องพิจารณาเสียก่อนว่าข้อกฎหมายที่ผู้เป็นฝ่ายในคดีกล่าวอ้างขึ้นมานั้นมีความถูกต้องเพียงใดกับข้อเท็จจริงในข้อที่กล่าวอ้าง
1. การให้ลักษณะกฎหมายแก่ข้อเท็จจริง การให้ลักษณะกฎหมายแก่ข้อเท็จจริงในกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล หมายความว่า ถ้านิติสัมพันธ์ใดมีความเกี่ยวพันกับระบบกฎหมายหลายระบบหรือที่เรียกว่านิติสัมพันธ์นั้นมีองค์ประกอบต่างชาติ ศาลจำต้องให้ลักษณะข้อกฎหมายแก่ข้อเท็จจริง ว่าข้อเท็จจริงนั้นๆ จะสังกัดอยู่ในปัญหากฎหมายประเภทใด สำหรับวิธีการแก้ไขการขัดกันแห่งกฎหมายในส่วนที่ เกี่ยวกับการให้ลักษณะกฎหมายแก่ข้อเท็จจริงนั้น มีวิธีการอยู่ 3 ประการคือ
1) การให้ลักษณะแก่ข้อเท็จจริง โดยการใช้กฎหมายของประเทศที่ศาลซึ่งพิจารณาพิพากษาคดีตั้งอยู่
2) การให้ลักษณะกฎหมายแก่ข้อเท็จจริงโดยการใช้กฎหมายของประเทศที่จะใช้บังคัลแก่คดีนั่นเอง
3) การให้ลักษณะกฎหมายแก่ข้อเท็จจริงโดยการใช้แนวความคิดแห่งหลักสากลของกฎหมาย
2. การย้อนส่ง การย้อนส่งในกฎหมายระหว่างประเทศ คือ “การที่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งประเทศหนึ่ง กำหนดให้ใช้กฎหมายของอีกประเทศหนึ่ง แต่กฎหมายของประเทศหลังนี้ย้อนส่งกลับมาให้ใช้กฎหมายของประเทศแรกหรือย้อนส่งไปให้ใช้กฎหมายของประเทศที่สามบังคับแก่กรณี”
การย้อนส่ง จำแนกออกได้เป็นสองประเภทคือ
การย้อนส่งกลับ หมายความถึง การที่หลักเกณฑ์แห่งการขัขัดกันแห่งกฎหมายประเทศหนึ่งบัญญัติให้ใช้กฎหมายภายในของอีกประเทศหนึ่ง แต่หลักเกณฑ์แห่งการขัดกันของกฎหมายประเทศหลังนี้ให้ใช้กฎหมายของประเทศแรก
การย้อนส่งต่อไป หมายความถึง การที่หลักเกณฑ์แห่งการขัดกันแห่งกฎหมายประเทศหนึ่ง บัญญัติให้ใช้กฎหมายภายในของอีกประเทศหนึ่ง แต่หลักเกณฑ์แห่งการขัดกันของกฎหมายประเทศหลังนี้ให้ใช้กฎหมายของประเทศที่สาม ข้อจำกัดของการนำเอากฎหมายต่างประเทศมาใช้บังคับ
ศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีเมื่อได้พลิกดูหลักเกณฑ์แห่งการขัดกันแห่งกฎหมายแล้วก็จะทราบถึงกฎหมายต่างประเทศที่จะนำมาบังคับใช้ แต่ถ้าหากเนื้อหากฎหมายต่างประเทศนั้นไม่สอดคล้องกับความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมแล้ว ศาลก็จะไม่พึงนำเอากฎหมายนั้นมาใช้บังคับซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวพันกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชนตามกฎหมายภายในมีอยู่ 2 ลักษณะคือ
ศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีเมื่อได้พลิกดูหลักเกณฑ์แห่งการขัดกันแห่งกฎหมายแล้วก็จะทราบถึงกฎหมายต่างประเทศที่จะนำมาบังคับใช้ แต่ถ้าหากเนื้อหากฎหมายต่างประเทศนั้นไม่สอดคล้องกับความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมแล้ว ศาลก็จะไม่พึงนำเอากฎหมายนั้นมาใช้บังคับซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวพันกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชนตามกฎหมายภายในมีอยู่ 2 ลักษณะคือ
อย่างไรก็ตาม การตีความในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีเกี่ยวกับอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพเมื่อปลาย พ.ศ. 2543 ซึ่งให้ความหมายอย่างกว้างกับคำว่า เขตอำนาจแห่งรัฐ ให้หมายถึงขอบเขตหรือสารัตถะของอำนาจรัฐ อันจะทำให้เกิดความยุ่งยากขึ้นในทางปฏิบัติในอนาคต เนื่องจากจะทำให้การทำสนธิสัญญาทั้งปวง ซึ่งในทุกกรณีมีผลเปลี่ยนแปลงหรือจำกัดอำนาจรัฐ ต้องผ่านความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติอย่างไม่มีข้อยกเว้น
- แนวทางปฏิบัติของศาลไทยเกี่ยวกับการปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ
สำหรับทางปฏิบัติของประเทศไทยในเรื่องนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยหลักการแล้ว ในกรณีที่เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่อยู่ในรูปของสนธิสัญญา ระบบกฎหมายไทยจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับแนวคิดและทฤษฎีของ “สำนักทวินิยม” กล่าวคือถ้ายังไม่มีกฎหมายรองรับการนำเอากฎหมายระหว่างประเทศมาปรับใช้ในประเทศไทย จะต้องผ่านกระบวนการรับเอาเสียก่อน ซึ่งอาจจะกระทำได้โดยการออกกฎหมายอนุวัตรการ โดยการแปรรูปให้เป็นกฎหมายในประเทศ หรือแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ให้ครอบคลุมถึงข้อตกลงทั้งหมดในสนธิสัญญานั้นก็ได้ โดยทางปฏิบัติจริง ในบางกรณีองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการหรือฝ่ายบริหารอาจจะนำมาใช้บังคับโดยตรง โดยยังไม่มีกฎหมายรองรับหรือมีกฎหมายอนุวัตรการ เมื่อมีความจำเป็นของรัฐ (raison d’Etat) ที่จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีในสนธิสัญญานั้นๆ หรือเมื่อลักษณะของข้อตกลงในสนธิสัญญากำหนดและปักปันเขตแดน สนธิสัญญาการบินพลเรือน หรือสนธิสัญญาที่ให้สิทธิแก่รัฐ เช่น ในเรื่องการกำหนดอาณาเขตทางทะเลเป็นต้น
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
- กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ประกอบด้วย
- ความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ
- การส่งผู้ร้ายข้ามแดน
- แนวคิดเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
ปัจจุบันลักษณะของการก่ออาชญากรรมมีความสลับซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้การกระทำความผิดต่างๆสามารถที่จะกระทำข้ามพรมแดนระหว่างประเทศสองประเทศหรือมากกว่านั้น ปัญหาคือหากผู้กระทำความผิดในประเทศหนึ่งแล้วหลบหนีไปอยู่อาศัยหรือไปหลบซ่อนยังอีกประเทศหนึ่ง ประเทศผู้เสียหายย่อมไม่มีทางที่จะดำเนินคดีความผิดอาญากับบุคคลดังกล่าวได้ เพราะการที่ประเทศผู้เสียหายจะเข้าไปจับกุมผู้กระทำความผิดในประเทศอื่นเพื่อมาดำเนินคดี ก็เป็นการล่วงละเมิดอำนาจอธิปไตยของประเทศอื่นๆนั้น ขณะเดียวกันหลักทั่วไปที่ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญในการดำเนินคดีอาญา คือ การนำตัวบุคคลผู้กระทำความผิดมาปรากฏตัวต่อศาล เพราะการฟ้องคดีอาญานั้นศาลไม่อาจพิพากษาลงโทษคดีอาญาแก่บุคคลผู้ไม่มาปรากฏตัวต่อศาลหรือพิพากษาไปเพียงฝ่ายเดียวอย่างเช่นในคดีแพ่งได้ เพราะฉะนั้นวิธีการที่ดีที่สุดในการเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ความร่วมมือของประเทศทั้งสองประเทศดังกล่าว โดยประเทศผู้เสียหายนั้นจะต้องทำการร้องขอไปยังประเทศที่ผู้กระทำความผิดนั้นไปอาศัยหรือหลบซ่อนอยู่ ให้ดำเนินการส่งตัวบุคคลดังกล่าวมาเพื่อดำเนินคดีอาญา และลงโทษตามกฎหมายของประเทศผู้เสียหาย ซึ่งความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญานี้เรียกว่า “การส่งผู้ร้ายข้ามแดน”
- วัตถุประสงค์ของการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
การส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็นความร่วมมือทางกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม โดยจัดส่งผู้ที่กระทำความผิดหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดและหลบหนีไปยังประเทศอื่นคืนไปยังประเทศที่ความผิดเกิดขึ้น ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ตามปกติการกระทำความผิดนั้นจะต้องกระทำขึ้นในเขตอำนาจศาลของประเทศที่ร้องขอและบุคคลผู้กระทำผิดได้หลบหนีมาอยู่ในเขตอำนาจศาลของประเทศที่รับคำร้องขอ และการส่งผู้ร้ายข้ามแดนจะต้องเป็นการร้องขอโดยผ่านพิธีการทางการทูต
- ผู้ที่อาจถูกส่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดนได้
1. ผู้กระทำความผิดเป็นบุคคลในสัญชาติของประเทศผู้ร้องขอ กรณีนี้ถือเป็นหลักสากลที่ทั่วโลกยอมรับให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกันได้เสมอ เช่น คนไทยทำความผิดอาญาในประเทศไทยแล้วหลบหนี้ไปอยู่ในสหรัฐอเมริกาประเทศไทยก็ขอให้สหรัฐอเมริกาส่งตัวคนไทยผู้นี้ข้ามแดนมาเพื่อพิจารณาคดีหรือเพื่อรับโทษตามคำพิพากษาของศาลไทยในประเทศไทยได้ การที่ประเทศผู้ร้องขอต้องการบุคคลสัญชาติของตนเอง ประเทศผู้รับคำขอก็จะอนุญาตให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามคำขอเสมอ
2. ผู้กระทำผิดเป็นบุคคลในสัญชาติของประเทศผู้รับคำขอ เป็นกรณีที่บุคคลในสัญชาติของประเทศหนึ่งกระทำความผิดแล้วหลบหนี้กลับไปยังประเทศของตน ตามหลักทั่วไปประเทศเจ้าของสัญชาติผู้กระทำความผิดจะไม่ยอมส่งตัวผู้กระทำความผิดนั้นกลับไปให้ประเทศอื่นพิจารณาพิพากษาคดี โดยยึดถือหลักที่ว่า “ไม่ยอมส่งคนสัญชาติตนข้ามแดนให้ประเทศอื่น” ก็สามารถกระทำได้ เช่น คนไทยไปกระทำความผิดทางอาญา ณ ประเทศฟิลิปปินส์แล้วหลบหนีกลับมายังประเทศไทย ประเทศไทยจะไม่ส่งคนไทยผู้นี้ข้ามแดนเพื่อไปให้ศาลฟิลิปปินส์พิจารณาพิพากษาคดีก็กระทำได้
3. ผู้กระทำความผิดเป็นบุคคลในสัญชาติของประเทศที่สาม ในกรณีนี้ตามธรรมเนียมปฎิบัติระหว่างประเทศ ประเทศผู้รับคำร้องขอจะต้องแจ้งให้ประเทศที่สามที่เป็นเจ้าของสัญชาติผู้กระทำผิดทราบเสียก่อนที่จะดำเนินการขั้นต่อไป เพื่อรักษาสัมพันธไมตรีอันดีงามระหว่างประเทศ ซึ่งในทางปฏิบัติประเทศเจ้าของสัญชาติผู้กระทำความผิดก็จะสอบถามข้อเท็จจริงแห่งคดี แต่ไม่อาจห้ามมิให้ประเทศผู้รับคำขอส่งตัวข้ามแดนได้
- ความผิดที่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้
ความผิดที่จะถึงขนาดที่จะนำมาซึ่งการส่งตัวข้ามแดนนั้น ต้องเป็นความผิดทางอาญาที่มีโทษทางตามกฎหมายให้ลงโทษประหารชีวิต จำคุก
หรือทำให้ปราศจากเสรีภาพเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี ตามกฎหมายทั้งในประเทศผู้ร้องขอให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนและประเทศผู้รับคำร้องขอ และความผิดนั้นจะต้องไม่ขาดอายุความตามกฎหมายของประเทศที่ร้องขอ ประการสำคัญคือความผิดนั้นต้องไม่ใช่ความผิดทางการเมือง หรือความผิดที่เกี่ยวกับศาสนา
องค์กรตุลาการระหว่างประเทศมีอยู่๒องค์กรดังนี้
1. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก (International Court of Justice: ICJ)
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice:
ICJ) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ศาลโลก” จัดตั้งขึ้นตามหมวด ๑๔ ของกฎบัตรสหประชาชาติ ลงวันที่๒๖
มิถุนายน ๑๙๔๕ โดยมาตรา ๙๒๒ ของกฎบัตรสหประชาชาติกำหนดให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เป็นองค์การตุลาการใหญ่แห่งสหประชาชาติ และมาตรา
๙๓๓ กำหนดพันธกรณีของสมาชิก สหประชาชาติว่าต้องเป็นภาคีของธรรมนูญจัดตั้งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (Statute of the International Court of
Justice)
รัฐที่มิใช่สมาชิกแห่งสหประชาชาติอาจเป็นภาคีในธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตามเงื่อนไขที่สมัชชาทั่วไปจะกำหนดเป็นราย ๆไปตามข้อเสนอแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และมาตรา
๙๔๔ กำหนดพันธกรณีของสมาชิกสหประชาชาติว่า สมาชิกสหประชาชาติรับที่จะปฏิบัติตามคำพิจารณาตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในทุกคดีที่ตนเป็นคู่กรณี หากคู่กรณีในคดีหนึ่งคดีใดไม่ปฏิบัติตามพันธกรรมอันเป็นหน้าที่ของตนโดยคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องเรียนต่อไปยังคณะมนตรีความมั่นคงได้ และถ้าคณะมนตรีความมั่นคงเห็นว่าจำเป็น ก็จะเสนอคำแนะนำหรือตกลงถึงวิธีการต่าง ๆ ที่จะปฏิบัติเพื่อให้สำเร็จผลตามคำพิพากษานั้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศถือเป็นองค์กรหลักเพียงองค์กรเดียวของสหประชาชาติที่มิได้ตั้งอยู่ในที่ตั้งขององค์การสหประชาชาติที่มลรัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกาโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้นตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ศาลนี้ประกอบด้วยผู้พิพากษา ๑๕ คน ซึ่งเลือกโดยที่ประชุมใหญ่สมัชชาแห่งสหประชาชาติและมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๙ ปี
- การฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ แบ่งเขตอำนาจ(Jurisdiction) ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศแบ่งออกเป็นสองประเภท ดังนี้
ก. เขตอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท
ข. เขตอำนาจในการให้คำปรึกษา
2. ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC)
จัดตั้งขึ้นโดยธรรมนูญจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือที่รู้จักทั่วไปว่า “ธรรมนูญกรุงโรม” (RomeStatute of the International Criminal
Court) ที่เปิดให้มีการลงนามตั้งแต่วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๑ และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม
๒๕๔๕ ขณะนี้ธรรมนูญกรุงโรมมีภาคีสมาชิกทั้งสิ้น ๑๑๔ ประเทศ ดังนั้น ศาลอาญาระหว่างประเทศจึงมีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศที่เป็นอิสระ มิได้เกี่ยวพันโดยตรงกับสหประชาชาติ และมิได้เกี่ยวพันกับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก แม้จะมีที่ตั้งอยู่ที่ กรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เช่นเดียวกับศาลโลกก็ตาม
สำหรับทวีปเอเชียมีเพียง ๑๕ ประเทศที่เป็นภาคีสมาชิก และในอาเซียนคงมีกัมพูชาเพียงประเทศเดียว ที่เป็นรัฐภาคีของธรรมนูญกรุงโรม ส่วนประเทศไทยนั้นได้ลงนามในธรรมนูญกรุงโรมตั้งแต่วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๓ แต่ยังมิได้ให้สัตยาบันตามธรรมนูญกรุงโรม ศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจเหนือการกระทำ
ความผิดอาญาร้ายแรงที่เกี่ยวกับสังคมโลกโดยรวม (Serious crimes of concern to the
international community as a whole) อันได้แก่ “อาชญากรรม” ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา๕๘ ของธรรมนูญกรุงโรม อันได้แก่
- อาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (The crime of genocide)
- อาชญากรรมต่อความเป็นมนุษย์ (Crimes against humanity)
- อาชญากรรมสงคราม (War crimes) และ
- อาชญากรรมเกี่ยวกับการรุกราน (The crime of aggression)
ทั้งนี้ มาตรา ๖-๘ ของธรรมนูญกรุงโรมจะกำหนดรายละเอียดของอาชญากรรมแต่ละประเภทไว้ ส่วนองค์ประกอบความผิดเป็นไปตาม Elements of Crimes ที่ออกตามความในมาตรา ๙
การพิจารณาของพนักงานอัยการได้ใน ๓
กรณี คือ
(๑) รัฐภาคีได้ร้องทุกข์เกี่ยวกับอาชญากรรมนั้นต่อพนักงานอัยการ
(๒) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามหมวด ๗ แห่งกฎบัตรสหประชาชาติได้ร้องทุกข์เกี่ยวกับอาชญากรรมนั้นต่อพนักงานอัยการ หรือ
(๓) พนักงานอัยการได้เริ่มสืบสวนเกี่ยวกับอาชญากรรมนั้นเองเมื่อได้รับคำร้องทุกข์จากผู้ เสียหาย
พนักงานอัยการจะดำเนินการตามมาตรา ๑๕
และมาตรา ๕๓
โดยจะต้องไต่สวนข้อเท็จจริงเบื้องต้น (preliminary examination) และวิเคราะห์
(๑) มีการกระทำอาชญากรรมนั้นขึ้นจริงหรือไม่และอาชญากรรมนั้นอยู่ในเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศหรือไม่
(๒) ควรเสนออาชญากรรมนั้นต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อพิจารณาหรือไม่โดยคำนึงถึงความร้ายแรงของอาชญากรรมนั้น และมีการดำเนินคดีต่ออาชญากรรมนั้นโดยศาลภายในของรัฐนั้นตามหลักความยุติธรรมหรือไม่
(๓) การพิจารณาคดีต่ออาชญากรรมนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งการอำนวยความยุติธรรมหรือไม่
ทั้งนี้
ในการไต่สวนข้อเท็จจริง พนักงานอัยการมีอำนาจขอข้อมูลจากรัฐ องค์กรของสหประชาชาติ องค์การระหว่างรัฐบาล องค์กรเอกชน หรือแหล่งข้อมูลอื่นเพื่อประกอบการพิจารณาได้
กรณีอิรัก
เมื่อมีการร้องทุกข์ว่ามีการก่ออาชญากรรมตามมาตรา ๕ ของธรรมนูญกรุงโรมในอิรัก อิรักมิได้เป็นรัฐภาคีของธรรมนูญกรุงโรม และไม่ได้ให้ถ้อยแถลงว่ายอมรับอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ และมีผู้เสียชีวิตจากอาชญากรรมนั้นระหว่าง ๔-๑๒ คน เท่านั้นซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงต่อมนุษยชาติ จึงไม่จำต้องพิจารณาหลักเกณฑ์อื่นต่อไป พนักงานอัยการจึงมีความเห็นให้ยุติการดำเนินการภายหลังจากที่ได้ไต่สวนเบื้องต้นแล้ว
กรณีเวเนซูเอลา
เวเนซูเอลาเป็นรัฐภาคีของธรรมนูญกรุงโรม พนักงานอัยการจึงเห็นว่าศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจเหนือข้อร้องทุกข์ว่ามีการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติตามมาตรา ๕ของธรรมนูญกรุงโรม แต่เมื่อไต่สวนเบื้องต้น พนักงานอัยการพบว่ามีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลเวเนซูเอลา โดยมีผู้เสียชีวิต ๔๕ ราย ถูกจำคุกประมาณ ๓๙-๔๔ ราย และอีกจำนวนมากถูกกระทำทรมาน แต่ข้อร้องทุกข์เกี่ยวกับการทำทรมานไม่เข้าเกณฑ์องค์ประกอบความผิดตาม Elements of Crimes ที่ออกตามความในมาตรา ๙ ของธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งพนักงานอัยการเห็นว่าจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงต่อมนุษยชาติ จึงไม่จำต้องพิจารณาหลักเกณฑ์อื่นต่อไป พนักงานอัยการจึงมีความเห็นให้ยุติการดำเนินการภายหลังจากที่ได้ไต่สวนเบื้องต้นแล้ว
สรุป
กล่าวโดยสรุป ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก กับศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นคนละองค์กรกัน และมีเขตอำนาจแตกต่างกันไป ทั้งนี้ การนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้น ผู้นำคดีขึ้นสู่ศาลโลกต้องเป็นรัฐหรือองค์กรระหว่างประเทศหรือทบวงการชำนัญพิเศษเท่านั้น เอกชนไม่สามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลโลกได้ส่วนการนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยที่ประเทศไทยได้ลงนามในธรรมนูญกรุงโรมแล้วเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๓ แต่ยังมิได้ให้สัตยาบัน และผู้เขียนไม่มีข้อมูลว่าประเทศไทยได้ให้ถ้อยแถลงยอมรับเขตอำนาจศาลหรือไม่ หากยังมิได้ให้สัตยาบันและมิได้ให้ถ้อยแถลงยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ประเทศไทยจะยังไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ ในกรณีนี้
การนำคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศจึงทำได้ ๒ ช่องทาง คือ
(๑) รัฐบาลไทยหรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติขอให้ศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณาในเรื่องที่เป็นอาชญากรรมตามมาตรา ๕
ของธรรมนูญกรุงโรม หรือ
(๒) ผู้เสียหายไปร้องทุกข์ต่อพนักงานอัยการโดยตรง
อ้างอิง : นพนิธิ สุริยะ. กฎหมายระหว่างประเทศ เล่ม 1.พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2556.
นพนิธิ สุริยะ. กฎหมายระหว่างประเทศ เล่ม 2.พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2556.
ศาสตราจารย์ ดร.จุมพต สายสุนทร. กฎหมายระหว่างประเทศ เล่ม 1.พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพมหานคร : สำนัก พิมพ์วิญญูชน, 2552.
ศาสตราจารย์ ดร.จุมพต สายสุนทร. กฎหมายระหว่างประเทศ เล่ม 2.พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพมหานคร : สำนัก พิมพ์วิญญูชน, 2552.